วัน/เดือน/ปีเกิด 26 กันยายน 2489
สถานภาพ สมรส ภรรยา ดร.สุปราณี อิ่มพิทักษ์
บุตร / ธิดา
นางสาววริศรา อิ่มพิทักษ์ อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางสาวศุภารีย์ อิ่มพิทักษ์ อาจารย์ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การศึกษา
ปีที่สำเร็จการศึกษา |
วุฒิการศึกษา | สถาบัน |
2537 |
ปริญญาบัตรหลักสูตร | วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 36 |
2518-2522 |
ปริญญาเอก (Ph.D.) | University of Florida |
2512-2515 |
ปริญญาโท (M.S.) | Oregon State University |
2508 - 2511 |
ปริญญาตรี ( เกษตร) | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2499 - 2507 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย | ร.ร สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒประสานมิตร |
2495 - 2498 |
ประถมศึกษา | โรงเรียนวัดบาง |
การดำรงตำแหน่งอาจารย์และผู้บริหาร
2558 |
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 28 |
2557 |
คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
2549 -2557 |
ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2545 - 2549 |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2544 |
รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนานิสิต และประธานที่ปรึกษาวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
กันยายน 2543 - กรกฎาคม 2544 |
รองอธิการบดีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครและรักษาการราชการรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนานิสิต |
มิถุนายน 2543 - สิงหาคม 2543 |
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มก. และปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร |
พฤษภาคม 2539 - 8 มิถุนายน 2541 |
ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้ง มก. ฉกส. |
2537 - 2539 |
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มก. |
2533 - 2537 |
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. |
2531 - 2533 |
หัวหน้าภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร |
2529 - 2531 |
ผู้ช่วยคณบดีคณะเกษตร ฝ่ายวางแผนและพัฒนา |
2522 - 2529 |
หัวหน้าฝ่ายประยุกต์งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ แห่ง มก. |
2517 |
อาจารย์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร |
ประสบการณ์บริหารและวิชาการที่ได้รับการแต่งตั้งในมหาวิทยาลัย
2544 |
เป็นรองประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งหอประวัติ มก. |
2543 - 2544 |
เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
2543 |
เป็นกรรมการและเลขานุการสภามหาวิทยาลัย |
2543 |
เป็นกรรมการและเลขานุการที่ประชุมคณบดี |
2543 |
เป็นประธานคณะกรรมการกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2539 - 2542 |
เป็นที่ปรึกษากรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2539 - 2543 |
เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้ง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
2539 - 2543 |
เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
2538 - 2539 |
เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตสกลนคร (ภูพานกาญจนาภิเษก) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2537 - 2539 |
เป็นประธานคณะทำงานวางแผนด้านกายภาพ มหาวิทยาลัย |
2537 - 2539 |
เป็นรองประธานกรรมการติดตามและประสานงานพัฒนามหาวิทยาลัย |
2535 - 2538 |
เป็นกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัย |
2535 - 2537 |
เป็นกรรมการพัฒนาทางกายภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2535 - 2537 |
เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2533-2539 |
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2533-2537 |
เป็นกรรมการสาขาผลผลิตเกษตร โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ( NRCT - JSPS) |
2533-2537 |
เป็นผู้จัดการโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับรัฐบาลญี่ปุ่น( JICA) |
2533-2537 |
เป็นประธานกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2529-2533 |
เป็นรองประธานกรรมการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2525-2529 |
เป็นกรรมการและผู้จัดการหนังสือวิทยาสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ประสบการณ์บริหารและวิชาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนราชการภายนอก
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยงานราชการหลายแห่งด้วยกัน เช่น สถาบันอุดมศึกษา กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
แนวคิดและหลักที่ใช้ในการบริหารงานในขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดี
แนวคิดในการการทำงานของอธิการบดีมีด้วยกัน 4 ข้อก็คือ
1. Wind of Change คือต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์
2. Current issues คือต้องมองปัจจุบันไปในอนาคต ในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต้องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
3. Core body คือการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการที่จะต้องหาคนมาเป็นหลัก และประสานการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ
4. Surgery for Jumping การทำงานแบบก้าวกระโดด คือการต้องยอมปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างเต็มที่
หลักปฏิบัติที่ใช้ในการทำงาน ก็คือ พรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในทำงาน และความพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และนอกจากนี้อธิการบดียังนำหลักธรรมะ ของ พระประยุทธ์ ปยุตโต , หลวงปู่มั่น และท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นหลักยึดในการปฏิบัติ
ผลงานในช่วงที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
ผลงานในระหว่างท่านดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมีด้วยกันหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเทิดพระเกียรติราชวงศ์ไทย การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนานิสิต การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยในหลายๆด้าน อย่างเช่น การจัดสร้างอาคารการเรียนการสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ 60 ปี , การจัดสร้างอาคารการเรียนรู้สำนักหอสมุด ( อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ) , การจัดสร้างหออนุสรณ์ 60 ปี และการจัดสร้างแคปซูลเวลา ( Time Capsule ) เป็นต้น
• การจัดสร้างสระสุวรรณชาด
"สระสุวรรณชาด" นั้นเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่มีต่ออธิการบดีโดยตรง ที่ต้องการจะให้สัตว์ที่ป่วยได้มีที่ไว้ออกกำลังกายโดยการใช้ ธาราบำบัด พระองค์ท่านจึงได้รับสั่งให้อธิการบดีไปที่ม.เกษตรศาสตร์ โดยใช้เงินของคุณทองแดง และให้คุณทองแดงไปเป็นผู้เปิด โดยให้งบประมาณ 2 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 เดือน ( พิธีเปิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดสระ "สระสุวรรณชาด" วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2548)
• การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร
ท่านถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนครขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 เริ่มเนื่องจากรัฐบาลมีโครงการที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคเป็นวิทยาเขตที่ 4 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ เลขที่ 59 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในพื้นที่การศึกษา 4000 ไร่ และมีพื้นที่วิจัยบริเวณอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ ฯ 700 ไร่ โดยได้รับมอบหมายให้ไปดูแล จัดหาสถานที่ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย และจัดสร้างอาคารเรียน พัฒนาภูมิทัศน์ เตรียมหลักสูตรและอาจารย์ในการสอน โดยได้รับความร่วมมือจากทางจังหวัดสกลนครเป็นอย่างดี
ในปี พ.ศ. 2538 เริ่มเตรียมโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มก. ฉกส.
ปี พ.ศ. 2539 เริ่มรับนิสิตรุ่นที่ 1 และ เริ่มก่อสร้าง
ปี พ.ศ. 2543 ได้เริ่มรับนิสิตไปเรียนที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ. สกลนคร อย่างจริงจัง โดยนับเป็นนิสิตรุ่นแรกที่ได้เรียนที่ จ. สกลนคร และนับเป็นรุ่นที่ 1
ปี พ.ศ. 2547 ได้มีพิธีเปิดวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร อย่างเป็นทางการ