ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ส่งเสริมการเกษตร) - เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ โดยเฉพาะหลักการส่งเสริมการเกษตร และเป็นแบบอย่างในการบริหารด้วยหลักคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สร้างคุณประโยชน์ให้แก่องค์กร สังคม ชุมชนและประเทศชาติ เป็นผู้ริเริ่มนำหลักการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรมาใช้โดยเฉพาะการนำระบบการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการสนับสนุนและสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรของไทยโดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้ ธ.ก.ส. เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาให้ชนบทมีความมั่นคง การจัดการที่ทันสมัยควบคู่กับการให้บริการอย่างอบอุ่น ทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนให้ดีขึ้น ตลอดจนได้ริเริ่มโครงการธนาคารชุมชน โครงการธนาคารโรงเรียน รวมทั้งการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถของผู้ทำการถ่ายทอดที่ต้องมีประสบการณ์จริง และผู้รับการถ่ายทอด คือเกษตรกรต้องมีความพร้อมและเต็มใจในการรับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นด้วย
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) - เป็นผู้เพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำสำเร็จคนแรกของประเทศไทย เนื่องจากมีแนวคิดในการเลี้ยงต้องพึ่งพาลูกพันธุ์ธรรมชาติ ถ้าสามารถผลิตได้เองในโรงเพาะฟักจะดีกว่ามาก ผู้คิดค้นวิธีการเร่งปลากะพงให้วางไข่โดยธรรมชาติแทนการฉีดฮอร์โมนแล้วรีดไข่ เป็นผู้เพาะพันธุ์ปลากะรัง (เก๋า) โดยวิธีผสมเทียมสำเร็จเป็นคนแรกของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการเลี้ยงปลาทะเลในกระชังเป็นคนแรกของประเทศไทย ด้านวิชาการยังได้ร่วมวางพื้นฐานด้านวิชาการ ปรับปรุงหลักสูตร/รายวิชา ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับ สถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ จากประสบการณ์จริงเพื่อผลิตนิสิตผู้รอบรู้ทั้งด้านวิชาการ ทักษะ ฝึกอบรมที่จะตอบสนองความต้องการของ นอกจากนี้ยังได้ร่วมพัฒนาธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในแนวทางที่เหมาะสม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ทั่วประเทศซึ่งเป็นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) - ปัจจุบันเป็นเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และยังเป็นที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นผู้มีผลงานและเกียรติประวัติด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอันดับต้นของประเทศไทย และเป็นบุคคลผู้ที่ดำเนินงานสนองพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โดยเป็นผู้ริเริ่มดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชน จากการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Weather 901 เพื่อส่งข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ทั้งในและต่างประเทศ ไปทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตร ด้วยระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ เพื่อให้ทรงติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ ปริมาณฝน และทิศทางลมได้โดยตรง พระองค์ทรงใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้รัฐบาลและกรมชลประทาน เพื่อเตรียมการวางแผนรับมือช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบัน Weather 901 ได้ถูกพัฒนาจนเกิดเป็น “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” เปิดให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net และ Mobile Application ชื่อ ThaiWater เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูล ติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
ดร.รอยล จิตรดอน ยังได้ดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชน ตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักสำคัญ คือ การแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งควบคู่กัน ในการพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ และพัฒนาโครงสร้างขนาดเล็กจัดการน้ำของชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยยุทธศาสตร์และมาตรการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำมาบูรณาการการพัฒนาทั้งด้านน้ำ การเกษตรและพลังงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือการดำเนินงานร่วมกันระหว่างชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่น ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดความสมดุล นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต โดยเข้าใจชุมชน เข้าใจธรรมชาติ และการมีแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ผสานกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งบุคคลต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) - ผู้ทำหน้าที่สอนด้านกระบวนการแปรรูปทางอุตสาหกรรมเกษตร และการออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อพัฒนาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์กึ่งอาหาร และทำการศึกษาวิจัยจนมีผลงานระดับชาติและนานาชาติ แต่งตำราและหนังสือ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย ทั้งยังสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างต่อเนื่อง และยังได้พัฒนาวิทยาการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาล ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะการควบคุมพัฒนามาตรฐานคุณภาพอ้อย การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานน้ำตาล ให้ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำตาลและนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของอ้อยและน้ำตาล เพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ริเริ่มการสร้างมาตรฐานวิชาชีพของอุตสาหกรรมน้ำตาลกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพที่ช่วยทำให้เกิดการพัฒนาช่างในโรงงาน้ำตาลให้มีทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลสูงขึ้น ทั้งยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลให้กับบุคลากรทั้งโรงงานน้ำตาล ฝ่ายไร่อ้อยและหน่วยงานราชการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์) - เป็นอาจารย์นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อและสัตว์ฟันแทะที่มีผลต่อสุขภาพของคนและสัตว์ ได้ศึกษาทางด้านนิเวศวิทยาวิวัฒนาการ และนิเวศวิทยาของสุขภาวะที่สัมพันธ์กับความหลากหลายทางชีวภาพในโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ โรคสัตว์สู่คน และการดื้อต่อสารต้านจุลชีพ การบูรณาการความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อและสัตว์ฟันแทะ นิเวศวิทยาวิวัฒนาการและระบาดวิทยาในประเทศไทย ร่วมกับการศึกษาในประเทศอื่นๆในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้คาดการณ์สถานการณ์ด้านสุขภาพ เพื่อเตรียมมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบในวงกว้าง เช่น ไข้หวัดนก โรคฉี่หนู และโรคที่นำโดยสัตว์ฟันแทะ ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก และยังไม่มีนักวิจัยไทยเริ่มต้นศึกษามาก่อน
Dr. Serge Morand ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งองค์ความรู้ให้กับนักวิจัยไทยให้พัฒนาตนเองขึ้นมา ทั้งยังมีผลงานตีพิมพ์ผลการวิจัยระดับนานาชาติมากกว่า 20 เรื่อง นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษของคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา และได้รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมให้กับนิสิตปริญญาโท-ปริญญาเอก โดยได้ประสานงานกับห้องปฏิบัติการในประเทศฝรั่งเศส สเปนและเยอรมัน เพื่อให้นักเรียนไทยที่อยู่ในการดูแลได้ไปฝึกฝนเพิ่มพูนประสบการณ์ และได้สัมผัสการทำงานของนักวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสถาบันวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมโยธา) คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน - ผู้ก่อตั้งบริษัทเสาทิพย์ จำกัด และบริษัท เตมีย์คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ที่รับเหมาก่อสร้างอาคารโรงงาน โกดังสินค้า ตลาด โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้กับภาครัฐ และเอกชน กว่า 40 ปี ได้ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา อย่างสุจริต มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จนสามารถสร้างบริษัทได้เติบโตอย่างมั่นคง เป็นบุคคลสู้ชีวิต และเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อวัย 65 ปี นายประภาส เป็นผู้วางแผนและบริหารโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยความมานะอดทน ในการแก้ปัญหาที่พึงมีได้กับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ๆ ด้วยสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้กับการทำงานด้านวิศวกรรมโยธาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้บริจาคเงินเพื่อจัดตั้งกองทุน "วิศวกรรมโยธาภาคพิเศษ (2) กพส. ( 2551 ) โดยนายประภาส เตมียบุตร" ในมูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยความรู้ความสามารถ ความมุ่งมั่น และการอุทิศตน จนสำเร็จในวิชาชีพกอปรกับความมีคุณธรรมอันเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนคุณูปการที่มีต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวงการวิศวกรรมโยธามาอย่างต่อเนื่อง
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กีฎวิทยา) - ข้าราชการบำนาญ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการจำแนกแมลง และเป็นผู้บุกเบิกการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ และยังได้รวบรวมภาพถ่ายของแมลงที่ถ่ายด้วยตนเอง และจัดทำฐานข้อมูลของแมลงในประเทศไทย ฯลฯ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์การประมง) - องคมนตรี อดีตอธิบดีกรมประมง และนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้ด้านการประมง การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน และเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจถวายงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางด้านการประมงและด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการฟาร์มตัวอย่าง ฯลฯ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) - ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักบริหารและนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้มีคุณูปการต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) - เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สิ่งแวดล้อม หลักการจัดการสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับใช้ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงาน บริหารคน และบริหารทรัพยากรแบบผสมผสาน อันก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน ฯลฯ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สังคมศาสตร์) - ที่ปรึกษามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย บุคคลต้นแบบที่นำความรู้ความสามารถใน การพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของข้าราชการให้มุ่งเน้นทำงานด้วยความซื่อสัตย์และทุ่มเทเสียสละ โดยนำหลักวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการส่งผลให้การบริหารงานราชการมีประสิทธิภาพ และยังได้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการจากปัญหาอุทกภัย
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วนศาสตร์) - อดีตอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ผู้ทุ่มเทและทำการวิจัยด้านการฟื้นฟูสภาพเสื่อมโทรมและการสร้างพื้นที่สีเขียวให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมป่าไม้กับประเทศในอาเซียน และเกิดเครือข่ายความร่วมมือในด้านการวิจัยและเสริมสร้างสมรรถนะของนักวิจัยรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบริหารและพัฒนาสังคม) - นิสิตเก่าคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “ครูเชาว์” ซึ่งมีความบกพร่องทางสติปัญญาและพิการทางสายตา เป็นบุคคลต้นแบบของครูที่ดี ที่มุ่งมั่นนำความรู้ความสามารถทำงานพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ยากไร้ในเขตเมืองที่ขาดโอกาส โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังที่สำคัญของชาติ ครูเชาว์เป็นครูอาสา สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์สร้างโอกาสเด็กพระราม 8 ชุมชนบ้านปูน ใต้สะพานพระราม 8 โดยได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ทำให้เด็กและผู้ปกครองยอมรับและเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองทั้งด้านทัศนะ พฤติกรรม การเรียนหนังสือ เป็นต้น
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชไร่) - เกษตรกรให้ความสำคัญด้านข้าว เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชาวนาและผู้ที่สนใจในการเรียนรู้วิธีการทำนาที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยนำหลักวิชาการและประสบการณ์ในการทำนาที่มีประโยชน์จากชาวนามืออาชีพ ทั้งยังเป็นผู้พัฒนาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตคนไทยในอดีต
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วนศาสตร์) - ด้วยผลงาน ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ป่า และสนองงานด้านการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปลูกป่ากับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การพัฒนาการเกษตรโดยวิธีการปรับปรุงบำรุงดิน ควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรน้ำและการฟื้นฟูป่าไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานการเขียนบทความ หนังสือ และเอกสารวิชาการทางด้านป่าไม้ อาทิ ป่าไม้เขตร้อนชื้น (Tropical Rainforest) โครงการพระราชดำริบางโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชในสภาพป่า เป็นต้น ผลงานวิชาการทางด้านป่าไม้ที่สำคัญอย่างยิ่งของ นายอำพล เสนาณรงค์ คือ การอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ยางนา สนองพระราชปรารภพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีการนำยางนาไปปลูกในบริเวณพระตำหนักจิตลดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. 2504 จนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นป่าสาธิตและมีต้นยางนามากกว่า 100 ต้น และริเริ่มโครงการและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทางด้านป่าไม้ ที่สำคัญได้แก่ “โครงการไม้ยางนา ราชาแห่งป่า เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา : จากป่าสู่วัง จากวังคืนสู่ป่าและไร่นาประชาไทย”
ผู้บุกเบิกงานด้านการศึกษาและค้นคว้าวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของคณะประมงของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และค้นคว้าวิจัยจนสามารถเพาะพันธุ์ปลาจีนด้วยกรรมวิธีฉีดฮอร์โมนสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย ทั้งได้พัฒนาการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ซึ่งในบางพื้นที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับที่ดินและแหล่งน้ำ โดยทดลองเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตกลมระบบน้ำหมุนเวียน เป็นการเริ่มต้นของการใช้อาหารเม็ดลอยน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ได้ทดลองเพาะขยายพันธุ์และศึกษาวิธีการเลี้ยงกบนา กบบูลฟร็อก และตะพาบน้ำ เป็นผลสำเร็จจนสามารถเผยแพร่ให้เป็นอาชีพของเกษตรกรและเป็นสินค้าส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ผลงานวิจัยดังกล่าวช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยให้ก้าวหน้า ลดการนำเข้าลูกพันธุ์ปลาจากต่างประเทศ ช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา และเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทย และยังมีส่วนทำให้เกษตรกรมีโปรตีนจากปลาในราคาถูกใช้บริโภคในครัวเรือนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์อาร์ทีเมียแห่งชาติ หรือ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ ในปัจจุบัน
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเกษตร) - ผลงานที่สำคัญ อาทิ การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเพิ่มมูลค่าในสารผสมอาหารเชิงหน้าที่ (functional ingredients) ที่มาจากอาหารทะเล งานวิจัยที่เกี่ยวกับศาสตร์ด้านประสาทสัมผัส และการนำเทคนิคทางสถิติขั้นสูงมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเน้นการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแปรพหุ เพื่อช่วยในการแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัสและผลตอบรับจากผู้บริโภคที่มีความซับซ้อน มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ ตำรา book chapters ทั้งยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนการเรียนการสอน การทำวิจัยร่วม และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งในประเทศไทย รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยของ หน่วยวิจัยทางประสาทสัมผัสและผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับต่างประเทศ และช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการทดสอบทางประสาทสัมผัสและการวิจัยผู้บริโภคของบุคลากรทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลงานการพัฒนาดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำองค์ความรู้และเทคนิคใหม่ๆ ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชสวน) - ผลงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลและการปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลให้ออกดอกติดผลอย่างมีคุณภาพดี และเกษตรกรได้นำไปปลูกจนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้และความกินดีอยู่ดีให้เกษตรกร ตลอดจนได้พัฒนาสินค้าเกษตรส่งออกของประเทศไทย พัฒนาเทคนิควิธีการผลิตและปฏิบัติดูแลไม้ผลให้มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับทั้งในแวดวงวิชาการและเกษตรกร อาทิ ได้ศึกษาการบังคับการออกดอกนอกฤดูของมะม่วงด้วยสารแพคโคลบิวทราโซลกับมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ และขบวนการทำให้ติดผลและผลเจริญถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ ริเริ่มการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในระยะผลชิด 4x4 เมตร เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรรายย่อย รวมทั้งการจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายและบรรยายเผยแพร่ความรู้จนเกษตรกรสามารถพัฒนาการปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง น้อยหน่า อาโวกาโด มะละกอ และกล้วยไข่ เพื่อการค้าและการส่งออกได้ดี การคัดเลือกและแนะนำพันธุ์ไม้ผล เช่น น้อยหน่าเพชรปากช่อง มะละกอปากช่อง 1 และปากช่อง 2 ให้เกษตรกรผลิตและจำหน่าย ตลอดจนได้นำอาโวคาโดมาคัดเลือกและส่งเสริมบนพื้นที่โครงการหลวง นับเป็นบุคคลต้นแบบว่า “ครูผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ปัญญาด้านไม้ผล”
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) - ผู้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยและประเทศให้ทัดเทียมสากล และได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกการใช้ฐานข้อมูลพจนานุกรม ริเริ่มการพัฒนาโครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงเป็นมหาวิทยาลัยแรกในประเทศไทยและแลนไร้สายทั้งมหาวิทยาลัย นับเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ นับเป็นผู้มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาอย่างยาวนาน เป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งสำนักบริการคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานระดับคณะตั้งแต่ พ.ศ. 2528 นอกจากนี้ยังมีผลงานตีพิมพ์งานวิจัย ผลงานทางวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และ การสื่อสาร มากกว่า 100 เรื่อง
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดี้ (เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร) - ผู้มีผลงานดีเด่นด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร โดยนำศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากรมาใช้ในการบริหารรัฐกิจและการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงในหน่วยงานระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจใหม่ของโลก บทบาทสำคัญในการปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร และยังได้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลากหลายทางชีวภาพ ได้ประยุกต์ใช้ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการรักษาและเพิ่มพูนฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของไทย เช่น การจ่ายค่าตอบแทนคุณค่าของระบบนิเวศอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์) - นักพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ ที่นำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ในด้านต่างๆ มาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาชีวิตและสุขภาพของสัตว์ ได้เอื้อเฟื้อโรงพยาบาลสัตว์ “เมืองชลสัตวรักษ์” เป็นแหล่งเรียนรู้ สถานที่ฝึกงานให้กับนิสิตคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การรักษาและช่วยเหลือสัตว์ป่วยอนาถาและสุนัขจรจัดที่มีคนนำมารักษาที่คลินิก โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังเป็นผู้ดำเนินการรณรงค์การทำหมันฟรีให้กับสุนัขและแมวในภาคตะวันออก รวมทั้งการประยุกต์หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือจากต่างประเทศที่มีราคาแพง ตลอดจนการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และยังได้ทุ่มเทเวลาในการค้นคว้าและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตสัตว์) - เกษตรกรผู้บุกเบิกของการเลี้ยงเป็ดไข่และยังส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงเป็ดไข่ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่บางเลน จ.นครปฐม และพัฒนาจนกลายเป็นฐานกำลังที่สำคัญในการประกอบธุรกิจด้านสัตว์ปีกให้ไข่และปลาน้ำจืดที่ครบวงจรรายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทย จนปัจจุบันมีฟาร์มเป็ดไข่ระบบเปิดทั้งหมด 5 ฟาร์ม และเป็นผู้ผลิตไข่เป็ดรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ได้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดเป็นระบบฟาร์มปิดที่ทันสมัย จนปัจจุบันได้ตั้งบริษัทเกษมชัยฟาร์มกรุ๊ป อีกทั้งยังเป็นผู้นำด้านการพัฒนาการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่และไข่เป็ดและปลาน้ำจืดจำนวนมาก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานบริษัท เกษมชัยฟาร์มกรุ๊ป จำกัด ทำหน้าที่บริหารธุรกิจในกิจการบริษัทในเครือรวม 11 บริษัท และได้สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ สถานที่ฝึกงานและศึกษาดูงานแก่นิสิตระดับปริญญาตรีสาขาสัตวศาสตร์ และเป็นผู้หนึ่งที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่เพื่อการเรียนการสอนกรณีศึกษาด้านการจัดการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ให้แก่นิสิตปริญญาโทสาขาโภชนศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน อย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน ให้สามารถนำไปผลิตจริงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ทรัพยากรเกษตรและการจัดการการผลิต) - ผู้มีส่วนร่วมงานและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาเขต เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาทรัพยากรเกษตรและการจัดการการผลิต ทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์พิเศษสำหรับการเรียนการสอนของคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะด้านการเกษตร ชลประทาน การท่องเที่ยว และการพัฒนาชุมชน จากความรู้ความสามารถ ความทุ่มเท และอุทิศตนให้กับงานด้านต่างๆ ทั้งด้านการพัฒนา ด้านวิชาการ ให้กับหลากหลายวงการจนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ เช่น งานวิจัยการใช้น้ำบาดาลในระบบชลประทานแบบท่อในการปลูกมะเขือเทศ
ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปฐพีวิทยา ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดินและปุ๋ยในระดับแนวหน้าของไทย และได้รับการยอมรับในระดับสากล มีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากมาย เช่น คู่มือสำหรับการเกษตรยุคใหม่ “ธรรมชาติของดินและปุ๋ย” เป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจได้ง่าย และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร ได้แก่ ชุดตรวจสอบ N P K ในดิน แบบรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรวิเคราะห์ดินได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาเพียง 30 นาที จึงช่วยแก้ปัญหาที่หน่วยงานราชการไม่สามารถให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึงและทันเวลาเพาะปลูก นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าชุดตรวจสอบ ซึ่งมีราคาแพงกว่ามาก
นอกจากนี้ อาจารย์ยังได้ปฏิรูปกระบวนการวิจัยของโครงการ ”การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที” นับเป็นนวัตกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่พัฒนาต่อมาเป็น เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ทำให้ได้คำแนะนำปุ๋ยที่มีความแม่นยำสูงสำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย (ภาคอีสาน) อีกทั้งสามารถนำระบบฐานข้อมูลจากการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์สำหรับการวิจัยในอนาคตได้
นายเอนก ลิ่มศรีวิไล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช ผู้เป็นนักปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันร่วมกับการปลูกทดสอบพันธุ์ในประเทศ ก่อนเผยแพร่สู่เกษตรกร โดยมีทีมวิจัยติดตามผลผลิตที่ได้ รวมทั้งให้คำแนะนำพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง โดยพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เกิดจากการพัฒนาที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรปลูกอยู่ในปัจจุบัน พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เกิดจากประสบการณ์ ของท่านที่สั่งสมมานั้น ปัจจุบันเกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ชื่อ “ปาล์มน้ำมันลูกผสม พันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า กระบี่ 1” จากความตั้งใจและใส่ใจในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ทำให้มีเกษตรกรที่สนใจและนำพันธุ์ไปปลูกทั่วประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา จนปัจุบันเกษตรกรได้นำไปปลูกกระจายในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยพันธุ์ปาล์มน้ำมัน และ ได้รับความนิยมในหมู่ชาวสวนปาล์มน้ำมันทั่วประเทศ และถือเป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่
นาวาตรี วิชา ยุกตานนท์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในวิชาการเดินเรือ ที่ได้ปฏิบัติงานในเรือทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่งบนเรือ จนเป็นกัปตันเรือ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในเรือของเรือหลายประเภท จากประสบการณ์การเดินเรือไปทุก ๆ น่านน้ำในต่างประเทศมาเป็นเวลาหลายปี และมีความรู้ความสามารถได้รับประกาศนียบัตรเกี่ยวกับวิชาชีพด้านการเดินเรือ เช่น Certificate of Competency class 1 Master Mariner จากประเทศไทย และของประเทศ Liberia และ Panama เป็นต้น และยังเป็นผู้ร่วมจัดตั้งวิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเดินเรือฉบับแรก โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2549 เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และร่วมปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเดินเรือ ปี 2553 นอกจากนี้ยังได้จัดทำตำราเรียนในหัวข้อการเดินเรือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในสถาบันของรัฐ และเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการเดินเรือ เช่น ตำราพายุหมุนโซนร้อน คู่มือการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล การต่อต้านโจรสลัดทะเลหลวง การจัดทำและแปลเอกสารจรรยาบรรณเกี่ยวกับการปฏิบัติตนสำหรับบุคคลที่ทำงานบนเรือพาณิชย์
รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการกีฬา ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากีฬาประเทศไทย ด้วยการพัฒนาวิชาชีพพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มีความก้าวหน้า โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านการจัดการกีฬาอย่างชัดเจน มีผลงานทั้งในด้านการริเริ่ม การส่งเสริม และผลักดัน ให้เกิดการพัฒนากีฬาทั้งในด้านของการวางแผนงาน การจัดองค์กร การจัดการบุคลากร การปฏิบัติ และการประเมิน ทำให้เกิดการพัฒนาในหลายมิติ รวมท้งผลงานเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรและสมาคมวิชาชีพด้านพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา และการจัดการกีฬา เป็นผู้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งภาควิชาพลศึกษาและจัดทำหลักสูตรการผลิตครูพลศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้บุกเบิกและก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกีฬา มีผลงานด้านการกีฬาเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ และยังได้ริเริ่ม ส่งเสริม และผลักดันงานสตรีกับกีฬาให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการทำงานของท่านที่ได้ทุ่มเททำให้การศึกษาและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของไทยในปัจจุบันได้เจริญเติบโต และขยายขอบเขตไปสู่องค์ความรู้ทางด้านการจัดการกีฬา และยังได้เปิดการเรียนการสอนในศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการกีฬา ในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการจัดทำแผนการพัฒนากีฬา และใช้เป็นแนวทางในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน
นายปราโมทย์ ไม้กลัด ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ผู้พัฒนาแหล่งน้ำ งานเขื่อนและระบบส่งน้ำ งานป้องกันและบรรเทาอุทกภัย งานด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งงานที่กรมชลประทานตามแผนงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงใช้สอยให้ทำงานสนองพระราชดำริมานานกว่า 20 ปี ยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการให้คำปรึกษา วางแผนการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในทุกรูปแบบอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำขึ้นตามภาคต่าง ๆ เช่น วิกฤตการณ์ภัยแล้ง วิกฤตการณ์อุทกภัย เป็นต้น รวมทั้งได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้เป็นอาจารย์พิเศษ วิทยากร ในสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำเกี่ยวกับการวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ การออกแบบเขื่อนดินและฝาย และวิชาอื่น ๆ เป็นประจำ โดยนำความรู้ความชำนาญเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งทุ่มเทเสียสละเวลาจนเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สถาบันการศึกษา สังคม และประเทศชาติ
ศ.เลอสม สถาปิตานนท์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้มีความมุ่งมั่นในการเพาะบ่มนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์รุ่นแล้วรุ่นเล่ามาโดยตลอดจนปัจจุบันด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนการเนื้อหาการออกแบบขั้นมูลฐานทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติกับนิสิตสถาปัตยกรรมในชั้นปีที่ 1 เป็นหลักด้วยเหตุที่ว่า การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ดีนั้นจำเป็นต้องเริ่มต้นที่รากฐานของความรู้เช่นเดียวกับการก่อสร้างบ้านหรืออาคารที่ต้องเริ่มต้นจากฐานรากเป็นสำคัญ รวมทั้งท่านได้ผลิตเอกสารตำราที่เป็นพื้นฐานการเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่นอกจากจะใช้ประกอบการเรียนการสอนภายในคณะตนเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ยิ่งต่อนิสิต นักศึกษาสถาปัตยกรรมจากสถาบันอื่นๆ ที่มีความสนใจมากมาย และถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบพื้นฐานของคณะสถาปัตยกรรมและคณะวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอีกหลายแห่งทั่วประเทศ
ท่านเป็นต้นแบบของสถาปนิก นักวิชาการที่มีความสามารถและศักยภาพในการบริหารจัดการงานด้านการบริหารจัดการองค์กรได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่อยู่อาศัย และการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยองค์ความรู้ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก
Professor Eric Dubreucq (อีริค ดูเบรค) ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้ให้การสนับสนุนการเรียนการสอน การทำวิจัยร่วม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และผลักดันให้นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับทุนการศึกษาต่อในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก นอกจากการเรียนการสอนแล้ว ศาสตราจารย์อีริค ดูเบรค ยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของเครือข่ายงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันการศึกษารวมถึงสถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง LipPolGreen- Asia Platform ซึ่งเป็น Platform ที่มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยทางด้านการใช้ประโยชน์จากชีวมวลด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Agropolis foundation ซึ่งนับเป็น Platform แรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยแหล่งทุนจากยุโรปให้จัดตั้งในทวีปอื่น และยังเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างคุณประโยชน์ด้านวิชาการและ สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในแขนงต่างๆ ด้วยเกียรติคุณและผลงานดีเด่น
นางนูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาชีพด้านการปรุงอาหารและเคล็ดลับเกี่ยวกับอาหารไทยต้นตำรับและมีทักษะการทำอาหารไทยเป็นอย่างมาก จึงได้พัฒนาทักษะการทำอาหารไทยเมนูใหม่ ๆ โดยคงความเป็นรสชาติอาหารไทยอยู่ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการก่อตั้งภัตตาคารบลูเอเลเฟ่นท์ ที่ให้บริการทั้งอาหารและเปิดสถาบันการถ่ายทอดความรู้เรื่องการประกอบอาหารไทย และเป็นส่วนหนึ่งทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลกนางนูรอ โซ๊ะมณี สเต๊ปเป้ ได้ตั้งใจและมุ่งมั่นทำงานอย่างเสียสละคู่มากับสามีคือนายคาร์ล สเต๊ปเป้ ด้วยอุดมการณ์ของการอนุรักษ์องค์ประกอบต่าง ๆ ในธุรกิจอาหารไทย ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบจากโครงการหลวง ได้เดินทางไปทั่วโลกในฐานะเชฟหญิงไทย เพื่อเผยแพร่อาหารและวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งยังให้ความสำคัญของการอนุรักษ์อาหารไทยและการส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก จึงได้ขยายสาขาไปในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้อาหารไทยแบบ high-end ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จัก และยังเป็นการยกฐานะและรูปแบบการบริการอาหารไทยในภัตตาคารชั้นสูงด้วย
นายประสิทธิ์ ศรีสุขจร ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ผู้ค้นคว้าพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรหลากหลายประเภทให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย อาทิ ไถบุกเบิก 3 จาน ที่ใช้งานได้ดีในชุดดินกำแพงแสนและสภาพดินเหนียว พรวนเอนกประสงค์เพื่อการบำรุงรักษาตออ้อย ไถสับกลบวัชพืชและใบอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดการเผาใบอ้อย ไถระเบิดดินดานทั้งแบบธรรมดาและแบบสั่น เพื่อลดการอัดแน่นของดิน เครื่องปลูกอ้อยที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกภายในประเทศ เครื่องใส่ปุ๋ย รถแทรกเตอร์ล้อสูงสำหรับบำรุงรักษาต้นอ้อย เครื่องปรับระดับผิวดินแบบติดตั้งด้านหน้าและด้านหลังรถแทรกเตอร์ เครื่องสูบน้ำใช้งานร่วมกับรถแทรกเตอร์ รถเทรลเลอร์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ 4 ล้อ แบบจานหมุนคานหน้าความเร็วสูง เครื่องตัดอ้อยต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ เครื่องคีบอ้อยต่อพ่วงรถตักดินล้อยาง และยังเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ นวัตกรรมเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม่ ตลอดจนเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์เกษตรมาประยุกต์ใช้ ซึ่งล้วนได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างดี